Somewhere Only We Know การเติบโตที่เจ็บปวดในวรรณกรรมสำหรับเด็ก

 


                                                                                                                           เขียนโดย  สมิทธิ  อินทร์พิทักษ์

"มื่ออายุเริ่มเดินทางมาถึงวัยผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะดูหนัง จะฟังเพลง หรืออ่านหนังสืออะไรก็ตาม ย่อมหาความหมายไปทุกย่างก้าวของชีวิต" โลกใบเดิมที่เคยมองผ่านกลับมีมุมมองที่เปลี่ยนไป ความเงียบสงบในยามเช้า หรือบทเพลงที่เคยฟังซ้ำในวัยเยาว์ ต่างเปลี่ยนแปลงไปสู่เสียงสะท้อนของความหมายที่ลึกซึ้ง ทุกครั้งที่ก้าวเดิน ไม่ใช่เพียงแค่การก้าวข้ามไปข้างหน้า แต่เป็นการหยุดคิด พิจารณา และซึมซับถึงความหมายในสิ่งที่เคยผ่าน

เมื่อต้นภาคเรียน ฉันได้รู้จักเพลง "Somewhere Only We Know" โดยบังเอิญ (ซึ่งนำมาสอนวิเคราะห์ในวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก) เป็นเพลงของวง Keane จากสหราชอาณาจักร เป็นซิงเกิ้ลนำจากอัลบั้ม "Hopes and Fears" เพลงนี้เป็นที่นิยมและกลายเป็นเพลงที่ได้รับความชื่นชอบจากแฟนเพลงทั่วโลกด้วยท่วงทำนองที่เข้าถึงอารมณ์และเนื้อเพลงที่สื่อถึงการหาสถานที่แห่งความสงบและส่วนตัว 
เพลงนี้มีความหมายลึกซึ้งที่เปิดโอกาสให้ผู้ฟังตีความตามประสบการณ์ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงกับความทรงจำ ความหวัง หรือความสัมพันธ์ที่สำคัญ
โดยเนื้อเพลง "Somewhere Only We Know" สื่อถึงความคิดถึงและการหาความหมายในชีวิตที่อาจสูญหายไปเมื่อเวลาผ่านไป I หรือ "ตัวฉัน" ในบทเพลงกำลังค้นหาสถานที่ที่เคยทำให้รู้สึกสมบูรณ์ เป็นสถานที่ที่มีความทรงจำและเป็นที่รู้จักกันเฉพาะกับใครบางคน การเดินทางในเนื้อเพลงเปรียบเสมือนการค้นหาความหมายหรือสถานที่ปลอดภัยในใจ สื่อถึงความเรียบง่ายที่หายไปและความต้องการสิ่งที่พึ่งพาได้เมื่อเราเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้ากับชีวิต

เพลง Somewhere only we know ฉบับ (Gustixa & Rhianne)
โดยมีเนื้อเพลงต้นฉบับภาษาอังกฤษ ดังนี้
I walked across an empty land
I knew the pathway like the back of my hand
I felt the earth beneath my feet
Sat by the river and it made me complete
Oh, simple thing, where have you gone?
I'm getting old, and I need something to rely on
So, tell me when you're gonna let me in
I'm getting tired, and I need somewhere to begin
I came across a fallen tree
I felt the branches of it looking at me
Is this the place we used to love?
Is this the place that I've been dreaming of?
Oh, simple thing, where have you gone?
I'm getting old, and I need something to rely on
So, tell me when you're gonna let me in
I'm getting tired, and I need somewhere to begin
And if you have a minute, why don't we go
Talk about it somewhere only we know?
This could be the end of everything
So, why don't we go somewhere only we know?
Somewhere only we know
Oh, simple thing, where have you gone?
I'm getting old, and I need something to rely on
So, tell me when you're gonna let me in
I'm getting tired, and I need somewhere to begin
And if you have a minute, why don't we go
Talk about it somewhere only we know?
This could be the end of everything
So, why don't we go?
So, why don't we go?
Ooh, oh-oh
Ah, oh
This could be the end of everything
So, why don't we go somewhere only we know?
Somewhere only we know
Somewhere only we know
แปลเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ 
ฉันเดินผ่านดินแดนที่ว่างเปล่า

ตาคู่นี้ของฉันเริ่มมองเห็นความงามที่ซ่อนอยู่ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของชีวิต (แม้เพื่อน ๆ บางคนอาจจะบอกว่าอากาศหนัก ต้องสอบจิตหน่อยแล้ว 555) จากละอองแดดที่กระทบใบไม้ในยามเช้า หรือความเงียบสงบของท้องฟ้าในยามราตรี หูเริ่มได้ยินเสียงสายลมที่พัดผ่าน ใจเริ่มรับรู้ถึงความสุขในความเงียบ ความหมายใหม่ ๆ ถูกพบเจอได้ในทุกสิ่งไม่ว่าจะเป็นรอยยิ้มของผู้คนที่เดินผ่าน หรือแม้แต่แสงสว่างที่สาดลงมาบนถนนที่คุ้นเคย หรือแม้กระทั่งเสียงร้องของสัตว์ซึ่งมีความหมาย

เมื่อก้าวสู่การเป็นผู้ใหญ่ การค้นหาความหมายของชีวิตกลายเป็นการค้นหาตัวเองไปพร้อมกัน ความฝันที่เคยวาดไว้เริ่มมีความชัดเจนยิ่งขึ้น แม้บางครั้งความฝันนั้นจะไม่เหมือนเดิม แต่ทุกการตัดสินใจและทุกก้าวที่เดินล้วนมีน้ำหนักของประสบการณ์ที่เติมเต็มไปด้วยความทรงจำและประสบการณ์จากวันก่อน ๆ

ชีวิตในวัยนี้ อาจไม่ได้วิ่งตามสิ่งที่ฉูดฉาดเหมือนในอดีต แต่อาจเป็นการค้นหาความงามในความเรียบง่าย          การนั่งลงจิบกาแฟท่ามกลางความสงบ หรือสนทนาอย่างอบอุ่นกับคนที่เรารักและห่วงใย 

ทุก ๆ วันคือบทเรียน 

ทุก ๆ การล้มลุกคือบททดสอบที่ทำให้เราได้รู้ถึงชีวิต 

การเดินทางนี้ไม่ได้เพียงเพื่อหาคำตอบ 

แต่เพื่อเรียนรู้และเข้าใจถึงความหมายของความสุขและการเติบโตในทุกย่างก้าวของชีวิต

และตระหนักอยู่เสมอว่า ความสุขเป็นสิ่งชั่วคราว

ฉันรู้จักเส้นทางนี้ดีเหมือนหลังมือของฉัน (คุ้นเคยมาก)
ฉันรู้สึกถึงผืนดินใต้ฝ่าเท้า
นั่งข้างแม่น้ำ มันทำให้ฉันรู้สึกสมบูรณ์

โอ้ สิ่งเรียบง่าย เจ้าหายไปไหน
ฉันเริ่มแก่ตัว และต้องการอะไรบางอย่างให้พึ่งพา
บอกฉันทีเมื่อไรเจ้าจะยอมให้ฉันเข้าไป
ฉันเริ่มเหนื่อย และต้องการที่ที่จะเริ่มต้นใหม่

ฉันเดินผ่านต้นไม้ที่ล้มลง
ฉันรู้สึกถึงกิ่งก้านของมันมองมาที่ฉัน
นี่คือสถานที่ที่เราเคยรักกันหรือ
นี่คือสถานที่ที่ฉันเคยฝันถึงหรือเปล่า

โอ้ สิ่งเรียบง่าย เจ้าหายไปไหน
ฉันเริ่มแก่ตัว และต้องการอะไรบางอย่างให้พึ่งพา
บอกฉันทีเมื่อไรเจ้าจะยอมให้ฉันเข้าไป
ฉันเริ่มเหนื่อย และต้องการที่ที่จะเริ่มต้นใหม่

ถ้าเจ้ามีเวลาสักนาที ทำไมเราไม่ไป
คุยกันในที่ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้จัก
นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของทุกอย่าง
ทำไมเราไม่ไปกันที่นั่น
ที่ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้จัก

โอ้ สิ่งเรียบง่าย เจ้าหายไปไหน
ฉันเริ่มแก่ตัว และต้องการอะไรบางอย่างให้พึ่งพา
บอกฉันทีเมื่อไรเจ้าจะยอมให้ฉันเข้าไป
ฉันเริ่มเหนื่อย และต้องการที่ที่จะเริ่มต้นใหม่

ถ้าเจ้ามีเวลาสักนาที ทำไมเราไม่ไป
คุยกันในที่ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้จัก
นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของทุกอย่าง
ทำไมเราไม่ไปกัน
ทำไมเราไม่ไปกัน

นี่อาจเป็นจุดสิ้นสุดของทุกอย่าง
ทำไมเราไม่ไปที่ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้จัก
ที่ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้จัก
ที่ที่มีเพียงเราเท่านั้นที่รู้จัก

ในฐานะการเป็นครูสอนวรรณกรรม และสอนวรรณกรรมสำหรับเด็ก หากจะมองว่าเนื้อหาเพลง "Somewhere Only We Know" สามารถเชื่อมโยงกับการเติบโตและการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ได้อย่างลึกซึ้ง ก็ได้ เพราะเพลงนี้สื่อถึงการค้นหาสิ่งที่สูญหายไปพร้อมกับกาลเวลาและการแสวงหาความหมายของชีวิตเมื่อเราเติบโตขึ้น (เหมือนวัยเด็กที่สูญไป ความสดใส ความสุข ความสนุก จินตนาการไร้ขอบเขต)

การโหยหาสิ่งที่เรียบง่าย เนื้อเพลงที่พูดถึง “Oh, simple thing, where have you gone?” 
สะท้อนถึงการโหยหาความเรียบง่ายในวัยเด็ก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ชีวิตดูไม่ซับซ้อนและไม่มีภาระหนักหนา 
การเปลี่ยนผ่านสู่วัยผู้ใหญ่มักนำพาความรับผิดชอบ ความเครียด และความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้เราโหยหาช่วงเวลาที่เคยเป็น “สิ่งเรียบง่าย” เหล่านั้น

การค้นหาความหมายและที่พึ่งพิง ในเนื้อเพลงที่ว่า “I'm getting old, and I need something to rely on” สะท้อนถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเราเติบโตขึ้นและเริ่มค้นหาความมั่นคงและความหมายในชีวิต 
ผู้ใหญ่ต้องการที่พึ่งพิงทางอารมณ์และจิตใจมากขึ้นและมักมองหาสถานที่หรือความสัมพันธ์ที่ทำให้รู้สึกปลอดภัยเหมือนเมื่อครั้งยังเด็ก

เนื้อเพลงยังสื่อถึงความเหนื่อยล้าทางใจจากการเติบโต เช่นคำว่า “I'm getting tired, and I need somewhere to begin” ซึ่งแสดงถึงความท้าทายของการเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องเผชิญกับปัญหาและความซับซ้อนต่าง ๆ จนทำให้รู้สึกต้องการการเริ่มต้นใหม่ ซึ่งอาจหมายถึงการค้นหาจุดยืนหรือความชัดเจนในชีวิต

ในท่อนที่ว่า “Is this the place we used to love?” สามารถเชื่อมโยงกับการเติบโตทางอารมณ์และจิตใจ เพราะสถานที่ที่เคยทำให้รู้สึกสมบูรณ์ในวัยเด็กหรือช่วงเวลาที่เคยรู้สึกว่าเป็นที่ของเรา มักจะหายไปหรือเปลี่ยนแปลงเมื่อเราเติบโตขึ้น แต่เรายังคงโหยหามันอยู่ในใจ การหวนกลับไปหาตัวตนผ่านความสัมพันธ์ที่เคยทำให้รู้สึกเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งการค้นหาตัวตนอาจเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่สำคัญต่อชีวิต โดยสถานที่หรือความสัมพันธ์นั้นอาจเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกว่ารู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น


ประเด็นการตามหาตัวตนในเพลง "Somewhere Only We Know" เป็นประเด็นหลักที่เชื่อมโยงกับการเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในชีวิต โดยมีหลายจุดที่สะท้อนถึงการค้นหาตัวตนและความหมายในชีวิตเมื่อก้าวผ่านช่วงวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการหวนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น คำว่า "Somewhere Only We Know" บ่งบอกถึงการหาสถานที่ที่เป็นที่รู้จักดี อาจเป็นสถานที่ทางกายภาพหรือสถานที่ทางใจที่เคยทำให้รู้สึกเป็นตัวเองอย่างแท้จริง การหวนกลับไปสู่จุดนั้นอาจหมายถึงการย้อนกลับไปหาความหมายที่แท้จริงของตัวตน ซึ่งมักจะเป็นการตามหาส่วนหนึ่งของตนเองที่หายไปในกระบวนการเติบโต

"Oh, simple thing, where have you gone?" 
สะท้อนถึงการสูญเสียตัวตนที่เคยมีความชัดเจนและเรียบง่ายในวัยเด็ก เมื่อต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนในชีวิต การเติบโตมักจะนำมาซึ่งความสับสนเกี่ยวกับตัวตนและสิ่งที่เราเคยเป็น เรามักจะถามตัวเองว่า "เราคือใคร" และ "สิ่งที่เคยเรียบง่ายนั้นหายไปไหน" ซึ่งประเด็นนี้พบบ่อยมากในวรรณกรรมที่กล่าวถึงการเปลี่ยนผ่านช่วงวัย

วรรณกรรมสำหรับเด็กเองก็พูดถึงประเด็นการเติบโต การตามหาตัวตน และการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่ อยู่หลายเรื่องที่ ซึ่งมักจะนำเสนอผ่านการเดินทางหรือการเผชิญหน้ากับความท้าทายต่าง ๆ ในการเติบโต




The Little Prince (เจ้าชายน้อย) เขียนโดย Antoine de Saint-Exupéry

เจ้าชายน้อยสะท้อนถึงการตามหาความหมายของชีวิตและตัวตนผ่านการเดินทางของเจ้าชายน้อยที่ออกสำรวจดาวต่าง ๆ เจ้าชายน้อยเปรียบเหมือนเด็กที่ค่อย ๆ เติบโตและเรียนรู้ความจริงของชีวิตผ่านการพบเจอกับตัวละครที่มีความซับซ้อนในจิตใจ ในขณะที่ผู้ใหญ่หลายคนลืมสิ่งที่สำคัญในชีวิต เจ้าชายน้อยจึงสื่อถึงการกลับไปหาความเรียบง่ายและการรักษาแก่นแท้ของตัวเองไว้ได้



Peter Pan (ปีเตอร์ แพน) เขียนโดย J.M. Barrie

เรื่องราวของปีเตอร์ แพน ผู้ไม่ต้องการเติบโตและอาศัยอยู่ในโลกแฟนตาซีของเนเวอร์แลนด์สะท้อนถึงความปรารถนาที่จะคงอยู่ในวัยเด็กและไม่เผชิญกับความเป็นจริงของการเติบโต แต่ตัวละครอื่น ๆ เช่น เว็นดี้และพี่น้องของเธอที่ไปเยือนเนเวอร์แลนด์ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ สื่อถึงความสับสนและความขัดแย้งในการค้นหาตัวตนระหว่างวัยเด็กและผู้ใหญ่



Alice's Adventures in Wonderland (อลิซผจญภัยในแดนมหัศจรรย์) เขียนโดย Lewis Carroll

การผจญภัยของอลิซในแดนมหัศจรรย์เป็นการเดินทางที่สะท้อนถึงการเติบโตและการค้นหาตัวตนของเด็กหญิงคนหนึ่ง อลิซต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยและการเปลี่ยนแปลงของตัวเองในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน เรื่องนี้สื่อถึงการพยายามเข้าใจโลกและตัวเองในขณะที่เราเติบโตขึ้น




Coraline (คอราลายน์) เขียนโดย Neil Gaiman

คอราลายน์เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงที่พบประตูสู่โลกคู่ขนานซึ่งดูเหมือนจะสมบูรณ์แบบมากกว่าชีวิตจริงของเธอ แต่ในที่สุดเธอเรียนรู้ว่าความเป็นจริงนั้นซับซ้อนและบางครั้งก็ต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่น่ากลัวเพื่อจะค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนเอง หนังสือเล่มนี้สะท้อนถึงการเติบโตและการเรียนรู้ที่จะเผชิญกับความยากลำบากในชีวิต



Bridge to Terabithia (สะพานมหัศจรรย์) เขียนโดย Katherine Paterson

เรื่องราวของการเป็นเพื่อนกันระหว่างเด็กสองคนที่สร้างโลกแฟนตาซีชื่อว่า "เทราไบเธีย" สะท้อนถึงการเติบโตทางอารมณ์และการเผชิญหน้ากับการสูญเสียในชีวิต ความสัมพันธ์และการผจญภัยในโลกแห่งจินตนาการนี้เป็นวิธีที่ตัวละครหลักเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและความหมายของการเป็นผู้ใหญ่




The Chronicles of Narnia (หนังสือชุดนาร์เนีย) เขียนโดย C.S. Lewis

วรรณกรรมชุดนี้สะท้อนถึงการเติบโตและการตามหาตัวตนผ่านการเดินทางและการผจญภัยในดินแดนแฟนตาซีของนาร์เนีย ตัวละครเอกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงและท้าทายทางอารมณ์ ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่และการค้นพบบทบาทของตนเองในโลกแห่งความจริง



The Catcher in the Rye (จะคอยรับไว้ไม่ให้ใครร่วงหล่น) เขียนโดย J.D. Salinger

เนื้อเรื่องที่บอกเล่าผ่านมุมมองของ Holden Caulfield เด็กหนุ่มที่กำลังเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่สะท้อนถึงการพยายามรักษาความบริสุทธิ์ของวัยเด็กและการต่อสู้กับความซับซ้อนของโลกผู้ใหญ่ หนังสือเล่มนี้เป็นสัญลักษณ์ของการเติบโตและการแสวงหาตัวตนในโลกที่ดูไม่แน่นอน




Harry Potter series (แฮร์รี่ พอตเตอร์) เขียนโดย J.K. Rowling

การเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่เป็นหนึ่งในหัวใจของซีรีส์นี้ ตัวละครหลักอย่างแฮร์รี่ต้องเติบโตจากเด็กที่ไม่รู้จักโลกเวทมนตร์สู่การเผชิญหน้ากับความรับผิดชอบ ความสูญเสีย และการตัดสินใจที่ซับซ้อนในฐานะผู้ใหญ่ เรื่องนี้ยังแสดงให้เห็นว่าการเติบโตไม่เพียงแต่เกี่ยวข้องกับอายุทางกาย แต่ยังรวมถึงการยอมรับและเข้าใจความซับซ้อนของโลก




The Giver (ผู้ให้) เขียนโดย Lois Lowry

เรื่องราวของ โจนาสเด็กหนุ่มที่อาศัยอยู่ในสังคมที่ทุกอย่างถูกควบคุมและกำหนด แต่เมื่อเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้รับความทรงจำของโลกเก่า เขาได้เรียนรู้ถึงความสุขและความเจ็บปวดของการมีอิสรภาพ เรื่องนี้สะท้อนถึงการเติบโตและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเข้าใจใหม่ๆ เมื่อเขาต้องเผชิญกับการตัดสินใจสำคัญเกี่ยวกับชีวิตของตัวเองและสังคม




His Dark Materials (ธุลีปริศนา) เขียนโดย Philip Pullman

เล่าถึงการผจญภัยของ Lyra และ Will ที่ต้องเผชิญกับปัญหาทางศีลธรรมและความท้าทายที่เกินความเข้าใจในวัยเด็ก ขณะที่ทั้งสองต้องเผชิญกับการตัดสินใจที่ซับซ้อน การเปลี่ยนผ่านจากวัยเด็กสู่ผู้ใหญ่ถูกสะท้อนผ่านการผจญภัยและการต่อสู้กับการควบคุมของผู้ใหญ่ที่มีต่ออิสรภาพและความรู้
วรรณกรรมเหล่านี้แสดงถึงกระบวนการของการเปลี่ยนผ่านและการพัฒนาตัวตนของตัวละครในช่วงเวลาสำคัญของชีวิต ความท้าทายและการเผชิญหน้ากับความจริงในแต่ละเรื่องล้วนเป็นสัญลักษณ์ของการเติบโตจากวัยเด็กสู่วัยผู้ใหญ่




A Monster Calls
   เขียนโดย Patrick Ness

เล่าถึงการเผชิญหน้ากับความสูญเสียและความเจ็บปวดจากการเติบโต เด็กชายชื่อ Conor ต้องเผชิญหน้ากับปีศาจที่มาหาเขาในยามค่ำคืน และต้องยอมรับความจริงเกี่ยวกับแม่ของเขาที่กำลังจะเสียชีวิต หนังสือเล่มนี้แสดงถึงความเจ็บปวดทางอารมณ์และการเรียนรู้ที่จะยอมรับสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
วรรณกรรมเหล่านี้ช่วยให้เด็กๆ เข้าใจความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงและการเติบโต ทั้งในเรื่องของการสูญเสีย ความรัก ความสัมพันธ์ และการยอมรับ






The Giving Tree  เขียนและวาดภาพโดย Shel Silverstein

เรื่องราวของต้นไม้ที่ให้ทุกสิ่งแก่เด็กชายที่เติบโตขึ้นมา เด็กชายได้รับจากต้นไม้เรื่อยๆ จนกระทั่งต้นไม้เหลือเพียงตอ เรื่องนี้สะท้อนถึงความสัมพันธ์ระหว่างการให้และการรับ พร้อมทั้งแสดงถึงความเจ็บปวดของการเปลี่ยนแปลงเมื่อเด็กชายเติบโตขึ้นและต้องเผชิญกับความเป็นจริงของชีวิต





The Velveteen Rabbit
เขียนและวาดภาพโดย โดย Margery Williams

เรื่องราวของกระต่ายของเล่นที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นของจริง การเดินทางของกระต่ายกำมะหยี่สะท้อนถึงความเจ็บปวดและความหวังในการเติบโตและการพยายามหาคุณค่าในตัวเอง หนังสือเล่มนี้แสดงถึงความเสียสละและความเจ็บปวดของการรักและการสูญเสีย




The Red Tree เขียนและวาดภาพโดย  Shaun Tan

Picture Book ที่นำเสนอความรู้สึกเหงาและเศร้าที่มาพร้อมกับการเติบโต โดยใช้ภาพและคำที่สื่อความหมายลึกซึ้ง เรื่องราวนี้สะท้อนถึงความรู้สึกไม่เข้าใจและความเจ็บปวดที่มักมาพร้อมกับการเติบโตทางอารมณ์ แต่ยังคงจบด้วยความหวังว่าทุกอย่างจะดีขึ้นในที่สุด




เพลง "Somewhere Only We Know" พาเราเชื่อมโยงกับประเด็นการหวนกลับไปหาความทรงจำและสถานที่ที่เคยให้ความรู้สึกปลอดภัย เหมือนกับการกลับไปหาช่วงวัยเด็กที่มีความเรียบง่าย เมื่อเติบโตขึ้น เรามักจะโหยหาสิ่งที่เคยมีและพยายามหาที่ที่จะทำให้เรารู้สึกเป็นตัวของตัวเอง


วรรณกรรมสำหรับเด็กหลายเรื่องก็นำเสนอความเจ็บปวดที่มาพร้อมกับการเติบโต เช่น การสูญเสียความเรียบง่าย การยอมรับความจริงของชีวิต และการเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดทางอารมณ์ การผจญภัยในเรื่องเหล่านี้มักเป็นสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลงและการทำความเข้าใจในตัวเองและโลกภายนอก
ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตและการยอมรับความสูญเสีย

วรรณกรรมเหล่านี้ (เพลงก็ถือว่าเป็นวรรณกรรม) ไม่เพียงแค่เป็นเรื่องราวที่บอกเล่าถึงการเติบโตของเด็ก        แต่ยังสะท้อนถึงประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ซับซ้อนของการก้าวข้ามช่วงเวลาในชีวิต และการพยายามรักษาความหมายและความเป็นตัวเองในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป พวกมันเป็นการสะท้อนถึงความท้าทายที่เด็กๆ ต้องเผชิญเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่เต็มเปี่ยมด้วยความเข้าใจและยอมรับความจริงของชีวิต


สมิทธิ  อินทร์พิทักษ์
๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๗
พุทธมณฑล สาย ๔
๑๓.๐๔ น.

ความคิดเห็น