ตุ๊กตาตัวเดียวในความคาดหวังของระบบทุนนิยม
บทความโดย สมิทธิ อินทร์พิทักษ์
ในสังคมทุนนิยมอย่างเช่นปัจจุบันมักเต็มไปด้วยค่านิยมที่พ่อแม่อยากให้ลูกๆทำงานในระดับสูงๆ ได้ผลตอบแทนมากๆ ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เป็นไปดังที่กล่าวนั้นคือการศึกษา การศึกษาเป็นตัวกำหนดหน้าที่การงานของลูกๆในอนาคต พ่อแม่จึงมัก “ คาดหวัง” ให้ลูกของตัวเองเรียนอย่างจริงจังและมากเกินเพื่อที่จะได้ตอบสนองความหวังของพ่อแม่โดยมิได้คำนึงถึงความสามารถและศักยภาพของลูกตามช่วงวัยที่เหมาะสมด้วยความไม่เข้าใจ ความคาดหวังที่มากเกิน หรือแม้กระทั้งการไม่รู้จักคุณค่าที่แท้จริงของลูก อาจจะจบลงด้วยความเศร้า แบบในตุ๊กตาตัวเดียว จากหนังสือ รวมเรื่องสั้นของโบตั๋น ชุดรักวัวให้ผูกรักลูกให้... ก็เป็นได้
เรื่องตุ๊กตาตัวเดียว เล่าถึง จอย เด็กวัยเจ็ดขวบซึ่งอยู่ในครอบครัวที่อยู่ในฐานะร่ำรวย แต่พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้ จอยอยู่กับพี่เลี้ยงชื่อ พี่คำ ซึ่งคอยดูแลจอยและคอยสอนจอยมาเกือบสามปีแล้ว สมัยที่จอยยังอยู่โรงเรียนอนุบาลจอยเรียนหนังสือได้ดีมาก แต่พอเธอย้ายโรงเรียนการเรียนก็แย่ลงเนื่องจากบ้านไกล เหลือเวลาให้กับตัวเองน้อย มิหน่ำซ้ำแม่จะให้เธอเรียนหนักจนแทบไม่มีเวลาพัก ทุกครั้งที่เธอท่องคำศัพท์ผิด แม่มักด่าทอเธอเสมอ เวลาที่เธอได้พัก เธอมักเล่นตุ๊กตาซึ่งในห้องนั่งเล่นรับแขกของคุณแม่มีตุ๊กตาหมูกระเบื้องเคลือบอยู่ตัวหนึ่ง เธอใฝ่ฝันอยากนำเจ้าตุ๊กตาหมูตัวนี้มาเล่นเป็นอย่างมากแต่กลัวแม่จะว่าเอาในความคิดของเธอแม่รักตุ๊กตาตัวนี้มากกว่าเธอเสียด้วยซ้ำ แล้ววันหนึ่งเมื่อเธอโดนด่าทอเรื่องเรียนหนักเข้าในจังหวะที่เธอนำตุ๊กตาหมูออกมาเล่นก็เกิดความน้อยอกน้อยใจแม่ จอยจึงเหวี่ยงตุ๊กตาลงกับพื้นจนแตกกระจายและเมื่อแม่มาเห็นจึงทั้งด่าทั้งตีจอย จอยรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก จึงจบชีวิตที่แสนน่าเบื่อของตัวเองโดยการกินยาฆ่าแมลง
จากเรื่องจะเห็นถึงความเป็นเปลี่ยนแปลงด้านการเรียนของจอยเริ่มจากการย้ายโรงเรียน เพราะว่าก่อนที่เธอจะย้ายโรงเรียนนั้นเธอเรียนได้ดีมากจากเนื้อเรื่องที่บรรยายไว้ว่า
“ตอนอยู่อนุบาลหนูจอยเรียนหนังสือได้ดีมาก สอบได้ที่หนึ่งเสมอ
ก็ตอนอยู่ตอนอนุบาลนั้นโรงเรียนอยู่ไม่ไกลนัก หนูจอยตื่นนอน
หกโมงครึ่ง อาบน้ำแต่งตัว รับประทานอาหารเช้า รถโรงเรียน
จะมารับที่หน้าบ้านเวลาเจ็ดโมงครึ่ง มีเวลาถมเถ
ตอนบ่ายรถโรงเรียนก็มาส่งถึงหน้าประตู เวลาสี่โมงเย็น
มีเวลาเล่นและทำการบ้าน ดูการ์ตูนได้ด้วย”
( โบตั๋น, ตุ๊กตาตัวเดียว, หน้า 107 )
จะเห็นได้ว่าที่หนูจอยเรียนได้ดีตอนอนุบาลนั้นเพราะบ้านอยู่ใกล้ ทำให้จอยมีเวลามากขึ้น อีกทั้งยังมีเวลาดูการ์ตูนซึ่งเป็นกิจกรรมที่เด็กๆทุกคนควรมีตามช่วงวัยคู่ไปกับการเรียนรู้มิใช่ว่าเอาแต่ร่ำเรียนเคร่งเครียดแต่หลังจากที่เธอย้ายโรงเรียนทุกอย่างก็เปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด ยกตัวอย่างเช่นเธอต้องตื่นตั้งแต่ตีห้าเพื่อไปโรงเรียนพร้อมกับแม่อีกทั้งช่วงเวลารอแม่แต่งตัวเธอต้องมานั่นท่องศัพท์อีก ท่องสูตรคูณ เมื่อเธอท่องผิดก็โดนแม่ว่าอีกทั้งยังเอาเธอไปเปรียนเทียบกับลูกคนอื่น จากเนื้อเรื่องที่ว่า
“บทสนทนาง่ายๆ แค่นี้ก็ท่องไม่ได้ โตขึ้นจะไปทำมาหากินอะไร โธ่เอ๊ย
ลูกคุณอ้อยที่ทำงานแม่น่ะเขาท่องได้หมดเล่มเลย”
( โบตั๋น, เล่มเดิม, หน้า 106 )
จากคำพูดแม่ของจอยในครั้งนี้นอกจากจะแสดงถึงความคาดหวังในตัวลูกแล้วยังแสดงถึงความไม่เข้าใจเด็กและศักยภาพและคุณค่าของลูกตัวเองอีกด้วยในขณเดียวกันก็จะทำให้จอยรู้สึกมีปมด้อยที่ไม่เก่งเท่าลูกคนอื่นนอกจากนั้นเธอยังให้จอยเรียนพิเศษหลังเลิกเรียนและทุกบ่ายวันเสาร์จนจอยไม่มีเวลาจะพักอีกด้วย
เมื่อกล่าวถึงความคาดหวังของแม่ที่มีต่อลูกนั้นจะเห็นว่าเป็นการคาดหวังที่มากเกินและเป็นการคาดหวังภายใต้อำนาจของทุนนิยมหรือเงินเป็นใหญ่จะเห็นจากคำพูดมากๆที่แม่พูดกับจอยเช่น “อีกหน่อยจะได้ทำงานบริษัทฝรั่งดีๆ ได้เงินเดือนแพงๆอย่างคุณแม่ ” หรือตอนที่แม่รู้ว่าจอยเรียนวิชางานฝีมือหรือการเกษตร “ ไม่รู้จะเรียนไปทำไมเสียเวลา เสียสมอง ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ” และ “ ไอ้งานชาวนาชาวสวนนี่ไม่รู้จะเรียนทำไม เราไม่ได้จะให้ลูกไปทำสวนสักนิด” เป็นต้น จะเห็นได้ว่านี่คือความคาดหวังซึ่งแม่ของจอยนั้นเรียนเพื่อจบไปทำงานที่ได้เงินมากๆ จึงอยากให้เรียนแต่วิชาภาษาหรือคำนวณเท่านั้น
เมื่อถึงวันประกาศผลสอลไล่ ผลที่ออกมาคือ จอยสอบตกถึงห้าจุดประสงค์ผลที่ตามมาคือเธอโดนแม่ด่าว่าต่างๆนานาจนเธอเสียใจมากจนไม่อยากเป็นลูกของแม่อีกต่อไปแล้วเธอนึกในใจว่าเป็นลูกคนครัวข้างบ้านยังดีเสียกว่า ลูกของคนครัวข้างบ้านชื่อจุก ถึงแม้จะไม่ร่ำรวยแต่จุกก็มีความสุขได้วิ่งเล่น ดูการ์ตูน ปั่นจักรยาน ซึ่งประเด็นนี้จะเห็นว่า มีเงินไม่ได้แปลว่าจะมีความสุขเสมอไปจนเมื่อจอยน้อยใจและทำตุ๊กตาหมูกระเบื้องเคลือบแม่แตก เธอโดนด่าและทุบตีโดยที่แม่เธอตีราคาของที่ทำแตกว่าราคาตัวละสองหมื่นซึ่งตลอดเรื่องแม่ของจอยมักจะกล่ายเรื่องเงินเสมอซึ่งสะท้อนให้เห็นทาสของระบบทุนนิยมที่เด่นชัด และสุดท้ายจอยก็จบชีวิตลงด้วยการฆ่าตัวตายเพื่อหลุดพ้นจากความวุ่นวายและน่าเบื่อนั่นคือการถูกแม่กำหนดให้ทำตามแบบที่แม่วางไว้โดยไม่นึกถึงความรู้สึกของเธอบ้าง จากเนื้อเรื่องตอนที่หนูจอยเหวี่ยงตุ๊กตาลงพื้นจนตุ๊กตานั้นแตกและคุณแม่มาพบที่บรรยายไว้ว่า
“ลูกล้างลูกผลาญ ตุ๊กตาของฉันตัวละสองหมื่น
เอามาเล่นแตกหมด พังพินาศหมด
ลูกสารเลว เรียนก็สอบตก โล่แล้วยังล้างผลาญอีกด้วย โอ๊ย ทนไม่ไหวแล้ว ทนไม่ไหวแล้ว ทำไมถึงมีลูกไม่ได้ดังใจยังงี้
เอามาเล่นแตกหมด พังพินาศหมด
ลูกสารเลว เรียนก็สอบตก โล่แล้วยังล้างผลาญอีกด้วย โอ๊ย ทนไม่ไหวแล้ว ทนไม่ไหวแล้ว ทำไมถึงมีลูกไม่ได้ดังใจยังงี้
ทำไมถึงโง่เง่า ล้างผลาญ ไม่ไหวแล้ว ทนไม่ไหวแล้ว
ฉันจะเอาเลือดชั่วๆ ของแกออกมาให้หมด”
ฉันจะเอาเลือดชั่วๆ ของแกออกมาให้หมด”
พี่คำวิ่งเข้ามาห้ามทัพ แย่งเอาตัวหนูจอยไปไว้ในห้องของพี่คำเอง
แล้วก็ออกมารับหน้า
แล้วก็ออกมารับหน้า
“คุณจะฆ่าลูกหรือยังไงคะ จะฆ่าเด็กหรือยังไง
ตีเอาๆ แบบนี้ ตุ๊กตานั่นมีราคา
ตีเอาๆ แบบนี้ ตุ๊กตานั่นมีราคา
กว่าชีวิตลูก คุณหรือไงคะ”
( โบตั๋น, ตุ๊กตาตัวเดียว, หน้า 119)
จากตอนที่ยกมาแสดงให้เห็นถึงความคาดหวังกับลูกมากเกินไปจากประโยคที่ว่า “ทำไมถึงมีลูกไม่ได้ดังใจยังงี้” อีกทั้งยังเอาราคาของตุ๊กตามากล่าวโทษลูกอีกด้วยซึ่งขนาดพี่เลี้ยงเองยังเข้ามาห้ามปราบว่าเธอเห็นค่าของตุ๊กตามากว่าลูกแท้ในไส้ของเธอเช่นนั้นหรือ
จะเห็นว่าเรื่องทั้งหมดมีปัจจัยหลายอย่างเช่น เวลา ความคาดหวัง แต่ที่สุดแล้วล้วนเกิดมาจากความไม่เข้าใจในเด็กซึ่งเริ่มจากเรื่องๆเล็กเช่นการจำศัพท์ไม่ได้ ผลการเรียนที่ตกต่ำลง จนกระทั่งการทำตุ๊กตากระเบื้องตกแตกจนกลายเป็นเรื่องใหญ่จนบทเรียนที่ได้มาต้องแลกด้วยชีวิต จากชื่อเรื่องตุ๊กตาตัวเดียว จะสื่อถึงตุ๊กตาหมูกระเบื้องที่แตกแล้วนั้น อาจจะยังมีนัยว่า ลูกไม่ใช่เพียงตุ๊กตาของแม่ที่จะอยากจะให้ลูกทำอะไรก็ได้แล้วแต่ใจพ่อแม่ แต่ลูกก็มีชีวิต ความต้องการ ที่พ่อแม่ควรเข้าใจและให้ความรัก
มิใช่เพียงแค่คาดหวังหรือบังคับอยากให้ลูกทำโน่นเป็นนี่ เพราะว่าเด็กก็คือเด็กไม่ใช่เป็นเพียง ตุ๊กตาตัวเดียวตัวหนึ่ง ของพ่อแม่
ในปัจจุบันถึงแม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า เงิน เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิต แต่จิตใจและความรู้สึกของมนุษย์ย่อมมีความสำคัญมากกว่าโดยเฉพาะความรู้สึกของคนที่เป็นลูก ถึงแม้การกระทำทั้งหมดจะเป็นเพียงแค่ความเป็นห่วงหรือหวังอยากให้ลูกเติบโตขึ้นเป็นคนเก่งหรือฉลาดในอนาคต แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือเด็กจะต้องมีความสุขด้วย ดังนั้นเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนควนไตร่ตรองให้ดีว่าเราควรจะเลี้ยงลูกแบบไหนในยุคทุนนิยมอย่างทุกวันนี้
-->
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น